ประโยชน์ ของ ข่า
ชื่อสมุนไพร ข่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia
galanga (Linn.) Swartz.
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อพ้อง Languas galanga (Linn.) Stuntz.
ชื่ออังกฤษ Galangal, False galangal, Greater galanga
ชื่อท้องถิ่น กฏุกกโรหิณี, ข่าหยวก, ข่าหลวง, สะเอเชย,
เสะเออเคย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน
เหง้ามีข้อหรือปล้องเห็นได้ชัด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ใบรูปหอกมีปลายแหลม รูปรีหรือเกือบขอบขนาน
ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบแหลมก้านใบมีขนเล็กน้อย กาบใบแผ่ออกหุ้มต้น
ดอกเป็นช่อออกที่ปลายยอด ก้านช่อมีผิวเกลี้ยง
ไม่มีขน แต่แกนกลางช่อมีขน ดอกมีขนาดเล็ก ใบประดับรูปไข่ กลีบเลี้ยงสีขาวอมเขียว
มีขน โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นหยักมนๆ
กลีบดอกมีโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ มีกลีบบนหนึ่งกลีบ กลีบล่างสองกลีบ ที่โคนกลีบดอกมีผลรูปกลมหรือรี
สีแดงอมส้ม เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ภายในมี 2-3
เมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ
- เหง้า รักษาอาการแน่นจุกเสียด
สารสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสารออกฤทธิ์
หรือสารที่ใช้ประเมินคุณภาพของสมุนไพร
Cineole, camphor และ eugenol
ลดการบีบตัวของลำไส้,
1'-acetoxychavicol acetate, 1'-acetoxyeugenol
acetate และ eugenol ช่วยลดการอักเสบ , 1'-acetoxychavicol
acetate และ 1'-acetoxyeugenol acetate
ช่วยยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และฆ่าเชื้อรา eugenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี
ช่วยย่อยอาหาร และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
นอกจากนี้ข่ายังมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น สะเอเชย เสะเออเคย
(แม่ฮ่องสอน),
ข่าหยวก (ภาคเหนือ), ข่าหลวง
(ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กฎุกกโรหินี (ภาคกลาง)
เป็นต้น
ข่าเป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน
(เหง้า) และยังประกอบไปด้วย ใบ ดอก ผล และเมล็ด โดยจัดอยู่ในตระกูลขิง เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่บ้านเราและอินโดนีเซียนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง
ๆ ใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยแต่งกลิ่นอาหาร ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหรือน้ำพริกต่าง ๆ ใช้ปรุงรสในอาหารต่าง ๆ อย่างต้มข่า
ต้มยำ ผัดเผ็ด เป็นต้น นอกจากนี้ดอกและลำต้นอ่อนยังใช้รับประทานเป็นผักสดได้อีกด้วย
ลักษณะของข่า
ข่า จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ในดิน เหง้าจะมีข้อและปล้องมองเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน
ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ลำต้นมีสีเขียว ใบของข่า เป็นใบเดี่ยว
เรียงสลับกันที่ยอดของลำต้น ใบมีลักษณะรี ดอกของข่าจะออกที่ยอดลำต้น มีขนาดเล็ก
สีขาว และผลของข่าจะเป็นทรงกลม สามารถมองเห็นได้เมื่อดอกแห้ง
คุณค่าทางโภชนาการของข่า
สำหรับ ข่า นิยมนำมาใช้ประโยชน์ส่วนของเหง้าอ่อน ซึ่งมีรสเผ็ด
นิยมนำมาทำเป็นยาขับลม มีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่
มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม
วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2
0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม
สรรพคุณของข่า
เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
แก้อาหารเป็นพิษ
เป็นยาแก้ลมพิษ
เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา
วิธีและปริมาณที่ใช้
รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง)
แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง
ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ? นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี)
ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ? ถ้วยแก้ว วันละ
3 เวลา หลังอาหาร
รักษาลมพิษ
ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง
ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ
จนกว่าจะดีขึ้น
รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง
ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย
ประโยชน์ของข่า
1.ช่วยให้เจริญอาหาร (ข่าหลวง)
2.ช่วยบำรุงร่างกาย (เหง้า)
3.ช่วยบำรุงธาตุไฟ (หน่อ)
4.ข่ามีสาร 1-acetoxychavicol acetate (ACA) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งจากการเหนี่ยวนำของสารก่อมะเร็ง
จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งไปด้วยในตัว (เหง้า)
5.มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง (สารสกัดจากเหง้า)
6.สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
(สารสกัดจากเหง้า)
7.ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (เหง้าแก่, สารสกัดจากเหง้า)
8.ช่วยขับเลือดลมให้เดินสะดวก ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายให้ดีขึ้น
(ราก)
9.น้ำมันหอมระเหยจากข่ามีประโยชน์อย่างมากต่อระบบทางเดินหายใจ
จึงมีส่วนช่วยแก้อาการหวัด ไอ และเจ็บคอได้เป็นอย่างดี (สารสกัดจากเหง้า)
10.ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก (หน่อ)
11.ช่วยแก้ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง
(เหง้าแก่)
12.ข่าสรรพคุณทางยาช่วยแก้เสมหะ (เหง้า, ราก)
13.ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน เมารถเมาเรือ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด
ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส
ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร วันละ 3 เวลา (เหง้า)
14.ผงจากผลแห้งสามารถนำมาใช้รักษาอาการปวดฟันได้
ด้วยการนำผลไปบดแล้วนำมาทาบริเวณที่ปวด (ผลข่า)
15.ใช้เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ท้องเดิน
ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต
นำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร วันละ 3 เวลา (เหง้า)
16.ดอกข่าใช้รับประทานช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ดอก)
17.ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต นำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส
ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร วันละ 3 เวลา (เหง้า)
18.ข่ามีสรรพคุณช่วยแก้บิด ปวดมวนท้อง ลมป่วง ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด
ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต นำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส
ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร วันละ 3 เวลา (เหง้า)
19.ช่วยรักษาโรคท้องร่วง (ผลข่า)
20.ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ (เหง้า)
21.เหง้าข่าแก่ช่วยย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (เหง้าแก่, ผลข่า)
22.มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ (เหง้า)
23.ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร (เหง้า)
24.ช่วยทำลายสารพิษที่ตกค้างในลำไส้ (สารสกัดจากเหง้า)
25.ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ (สารสกัดจากเหง้า)
26.ช่วยขับน้ำดี (เหง้า)
27.ช่วยแก้ดีพิการ (ข่าหลวง)
28.ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา ขับรก
ด้วยการใช้เหง้านำมาตำกับมะขามเปียกและเกลือ ให้ผู้หญิงรับประทานหลังคลอด (เหง้า)
29.ใช้เป็นยารักษาแผลสด (สารสกัดจากเหง้า)
30.ช่วยลดอาการอักเสบ (เหง้า)
การปลูกข่า
ข่าเป็นพืช เศรษฐกิจ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก ศัตรูพืชน้อย
สำหรับการปลูกข่า นั้นมีเรื่องที่ต้องรู้ คือ การเตรียมดิน การปลูก การเก็บผลผลิต
รายละเอียด ดังนี้
การเตรียมดิน สำหรับปลูกข่า ข่าชอบดินร่วนซุย มีความชื้น
แต่ไม่ชอบน้ำขัง สำหรับการเตรียมต้นพันธุ์ สำหรับปลูกข่า ให้ใช้ต้นพันธุ์อายุ 1 ปี ครึ่ง เนื่องจากอายุพันธุ์ข่า ขนาดนี้เหมาะสำหรับการนำมาปลูก
เนื่องจากมีแข็งแรง และมีตามาก ทำให้การเจริญเติบโตจะดี
การปลูกข่า ใช้วิธีการปักดำ
นำเหง้าพันธ์ุข่ามาปักลงหลุมที่เตรียมดินไว้ สำหรับหลุมละ 3 เหง้า ระยะห่าง ประมาณ 1 เมตร ต่อหลุม
ข่าสามารถแตกหน่อได้มากถึง 1500 กอ
ให้ผลผลิตที่ดี
การดูแลข่า ข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบน้ำขัง
จึงต้องหมั่นตรวจสอบอย่าให้น้ำขัง รดน้ำเดือนละ 2 ครั้งก็เพียงพอสำหรับข่า
หมั่นให้ปุ๋ย สามารถเก็บเกี่ยวข่าได้ตามต้องการ
แหล่งอ้างอิง :
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.rspg.or.th, www.samunpri.com, www.bspwit.ac.th, หนังสือยากลางบ้าน (สุนทร ปุณโณฑก)
"ข่า" มีรสเผ็ดปร่า มีน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นหอมฉุนแรง คนไทยใช้ข่าเป็นยารักษาอาการเจ็บป่วยในแทบทุกระบบของร่างกาย ระบบทางเดินอาหาร
ข่าช่วยย่อย ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ลมป่วง แก้บิด ขับน้ำดี แก้สะอึก ดังนั้น ข่าจึงเป็นเครื่องเทศหลักคู่ครัวไทยเป็นสมุนไพรที่จะไปบำรุงไฟธาตุ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของความแข็งแรงของร่างกาย ในกรณีที่จุกเสียดท้อง ปวดท้อง สามารถนำข่ามาทำเป็นยาผง ยาลูกกลอน ยาต้ม ยาชงกินก็ได้ หรือจะนำข่ามาตำ หรือฝนกับเหล้าหรือน้ำปูนใสกินเพื่อรักษาอาการดังกล่าวก็ได้ผลดียิ่ง
ระบบทางเดินหายใจ
ข่าช่วยแก้ไอ แก้หวัด ลดน้ำมูก แก้หอบหืดได้เช่นเดียวกับขิง เนื่องจากการที่มีรสร้อน จึงเหมาะที่จะปราบหวัดที่มากับหน้าหนาวได้เป็นอย่างดี คนสมัยก่อนนิยมนำข่ามาต้มน้ำ เป็นยากินเพื่อแก้หวัดลดน้ำมูก ในส่วนของการใช้แก้ไอ นิยมฝนข่ากับน้ำผึ้งกินเพื่อกัดเสลด โดยอาจเจือน้ำมะนาวกับเกลือลงไปเล็กน้อย นอกจากนี้ข่ายังช่วยขยายหลอดลมได้อีกด้วย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ข่าเป็นยาร้อนทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี มีกำลังวังชา ช่วยขับเลือดเสียในหญิงหลังคลอด ช่วยขับเหงื่อ
ระบบประสาท
ข่าช่วยลดอาการปวด ไม่ว่าจะแก้ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดฟัน รำมะนาด ปวดท้อง ปวดท้องประจำเดือน รวมทั้งอาการปวดบวม ซึ่งถ้ามีอาการเท้าแพลง ปวดกล้ามเนื้อ คนสมัยก่อนจะตำข่ามาพอกบริเวณที่มีอาการข่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของยากิน ยาประคบ อบ อาบ พอก เพื่อแก้อาการปวดและลดการอักเสบ
ระบบผิวหนัง
ข่าแก้ลมพิษ แก้ผดผื่นคัน แก้กลากเกลื้อน แมลงสัตว์กัดต่อย พิษแมลงมุม เป็นต้น ซึ่งการใช้ข่าในด้านนี้ ต้องเป็นข่าแก่เท่านั้นจึงจะได้ผลดี
"ข่า" คือ ของดีคู่บ้าน คู่ครัวไทย ปลูกกินใช้ได้ไม่ยาก ขจัดทั้งโรคภัย เจ็บป่วยไข้เมื่อใด นำมาใช้ได้ทันที
สเปรย์ข่า
สารสกัดข่า มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย ช่วยดับกลิ่นอับ กลิ่นไม่พึงประสงค์ และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่เท้า ทำให้เท้ามีสุขภาพดี (หากใช้สเปรย์ข่าร่วมกับนวดเท้า จะเพิ่มประสิทธิภาพในการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดเป็นอย่างดี เมื่อฉีด
ส่วนประกอบ : สารสกัดข่า น้ำมันจากดอกลีลาวดี
สรรพคุณ : สเปรย์เพื่อเท้าที่ผ่อนคลายและปลอดกลิ่น ทำความสะอาดและดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ช่วยการไหลเวียนของเลือด
วิธีใช้ : ฉีดพ่นลงบนเท้าที่ทำความสะอาดดีแล้ว ถูฝ่าเท้าไปมาสักครู่จนแห้งจึงสวมถุงเท้าหรือรองเท้า สามารถใช้ทำความสะอาดเท้าก่อนการนวดเท้าพ่นแล้ว สามารถระเหยได้ง่าย ไม่ทิ้งคราบไว้บนผิว
สามารถดูขั้นตอนการทำได้ที่่นี้คะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น